จันทร์-ศุกร์ 09.00 - 20.00 / เสาร์ 9.00-17.00 / อาทิตย์ 09.00-16.00

มีคำถามไหม? โทรหาเราที่  094-608-0022

ความสำเร็จของเรา

ความสำเร็จของเรา

อัตราการรอดชีวิตของตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสหลังการแช่แข็งตัวอ่อนในปี พ.ศ. 2563 (Blastocyst Cryosurvival Rate in 2020)

อัตราการเจริญของตัวอ่อนระยะเซลล์เดียวไปเป็นตัวอ่อนระยะฝังตัวในปี พ.ศ. 2563 (Blastocyst Formation Rate in 2020)

อัตราการตั้งครรภ์จากการย้ายตัวอ่อนแช่แข็งทีเกิดจากการทำ ICSI ในปี พ.ศ. 2563 (Pregnancy rate/Embryo transfer of vitrified/warm embryos from ICSI in 2020)

อัตราการตั้งครรภ์จากการย้ายตัวอ่อนแช่แข็งทีเกิดจากการทำ IVF ในปี พ.ศ. 2563 (Pregnancy rate/embryo transfer of vitrified/warm embryo from IVF in 2020)


อะไรคือความสำเร็จของเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (เด็กหลอดแก้ว)?

คำจำกัดความ

ก่อนอื่นต้องมาดูกันว่า “การประสบความสำเร็จ” ของเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์(เด็กหลอดแก้ว) คืออะไร คนบางส่วนคิดว่าการตั้งครรภ์ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว แต่บางคนก็มีความเห็นขัดแย้งว่าการตั้งครรภ์บางแบบอาจไม่สามารถนับเป็นความสำเร็จได้ เช่นสตรีที่มีฮอร์โมนการตั้งครรภ์สูงขึ้นชั่วคราว หรือตรวจ์อัลตร้าซาวน์พบการตั้งครรภ์ แต่สุดท้ายไม่สามารถดำรงการตั้งครรภ์ต่อไปได้จนคลอด หรือเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือตั้งครรภ์ได้จนถึงขั้นตอนการคลอด แต่ทารกเสียชีวิตแรกคลอด การตั้งครรภ์ที่ผิดปกติเหล่านี้ควรจะถือว่าเป็นความล้มเหลวของการทำเด็กหลอดแก้ว ดังนั้นการตั้งครรภ์ที่สามารถดำเนินมาจนคลอดบุตรที่แข็งแรง จึงจะนับเป็นตัววัดความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้วได้อย่างแท้จริง ในปัจจุบันนี้ คลินิกที่ให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์(เด็กหลอดแก้ว) หรือศูนย์ข้อมูลต่างๆ มักไม่มีการรายงานผลลัพธ์ของการรักษาเป็นอัตราการคลอดบุตรมีชีพ (คือมีคู่สมรสจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ที่เข้ารับการรักษาและมีการคลอดบุตรที่มีชีวิตได้เลี้ยง) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะใช้การเกิดมีชีพเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ(ซึ่งน่าจะเหมาะสมกว่าตัวอื่นๆ) แต่ค่านี้ก็ยังไม่แม่นยำมากเนื่องจากมีกลุ่มที่คลอดก่อนกำหนดซึ่งผลลัพท์ไม่ดีเท่าทารกปกติรวมอยู่ด้วย การคลอดก่อนกำหนด(โดยเฉพาะคลอดก่อนกำหนดมากๆ เช่น อายุครรภ์หลัง 6-7 เดือน) ทำให้ทารกตัวเล็กมาก ยากแก่การรอดชีวิต และต้องรักษาในห้อง ICU สำหรับเด็กแรกเกิดเป็นเวลานาน การคลอดก่อนกำหนดมากๆลักษณะนี้มักไม่เกิดกับการตั้งครรภ์ปกติ แต่จะพบบ่อยในการตั้งครรภ์แฝด การทำเด็กหลอดแก้วสัมพันธ์กับการเกิดครร์แฝดมากขึ้น ดังนั้นการรายงานผลความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้วควรรายงานแยกกันระหว่างการตั้งครรภ์ทารกคนเดียว และทารกหลายคน(แฝด)

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ

มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อโอกาสตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งเปรียบเสมือนอัตราความสำเร็จของแต่ละสถาบัน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ เช่น อายุ การทำงานของรังไข่ ระยะเวลาที่เป็นหมัน การรักษาที่ได้รับมาก่อน ปัจจัยทางสามี บางคนอาจมีหลายปัจจัยร่วมกันได้ นอกจากนี้ อัตราความสำเร็จยังขึ้นกับการตอบสนองของการกระตุ้นการตกไข่ คุณภาพของตัวอ่อน และจำนวนตัวอ่อนที่ย้ายไปสู่โพรงมดลูก (การย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูกหลายตัวจะเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้ แต่ก็จะเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์แฝดไปด้วยเช่นกัน)

การตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติ

ถ้าวางแผนจะรักษาภาวะมีบุตรยาก สิ่งที่ควรทราบก่อนการรักษาคือผลลัพธ์อาจไม่ได้เป็นที่น่าพึงพอใจเสมอไป ผลของการรักษาไม่สามารถคาดเดาหรือรับประกันได้ ซึ่งก็เป็นไปตามกระบวนการธรรมชาตินั้นเอง กล่าวคือการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติของคู่สามีภรรยาที่สุขภาพแข็งแรงและมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่เหมาะสมนั้นมีโอกาสตั้งครรภ์ได้เพียง 20-30% เท่านั้นในแต่ละรอบเดือนที่ตกไข่ หนึ่งในหลายๆเหตุผลที่ทำให้โอกาสการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติดูน้อยกว่าที่ควรจะเป็นคือตัวอ่อนไม่แข็งแรง ไม่สามารถที่จะฝังตัวในมดลูกได้ และตายไปหลังจากมีการปฏิสนธิเพียงไม่กี่วัน โดยขั้นตอนนี้อาจเกิดก่อนรอบเดือนถัดไป ทำให้สตรีที่ตั้งครรภ์ยังคงมีประจำเดือนตามปกติและไม่ทราบเลยว่าตนเองได้มีการตั้งครรภ์และแท้งไปแล้วในช่วงระยะเวลานั้น จากข้อมูลดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าการตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาตินั้นไม่ได้เกิดง่ายดายอย่างที่คิด และมีตัวอ่อนที่มีความผิดปกติทางโครโมโซมหรือโครงสร้างไม่สามารถฝังตัวในมดลูกได้ และทำให้เกิดการแท้งไปเป็นจำนวนมาก การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์(เด็กหลอดแก้ว)ก็เช่นเดียวกันกับธรรมชาติ คือมีตัวอ่อนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถฝังตัวได้ และในจำนวนตัวอ่อนที่ฝังตัวได้สำเร็จก็จะมี 15-20% ไม่สามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้ และแท้งไปในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

สิ่งที่ควรระวังในการเปรียบเทียบผลความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้วของแต่ละคลินิก

ข้อมูลทางสถิติ (วิธีการเก็บข้อมูล และลักษณะของประชากรที่นำมาศึกษา)
วิธีการรักษาทุกๆอย่าง นั้นสามารถเกิดผลลัพธ์ที่ต่างกันได้ ไม่ว่าจะน่าพีงพอใจหรือไม่ สิ่งที่จะบอกได้ดีที่สุดว่าวิธีการรักษานั้นๆดีจริงหรือไม่ ต้องอาศัยข้อมูลเชิงสถิติ ที่ทำให้เราสามารถทราบถึงอัตราการเกิดผลลัพท์แบบต่างๆ (เช่นรักษาด้วยวิธีการ A แล้วจะดีขึ้นกี่เปอร์เซนต์ แย่ลงกี่เปอร์เซนต์ เป็นต้น) และสามารถเปรียบเทียบถึงผลลัพธ์ของแต่ละวิธีได้ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลทางสถิติยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากการศึกษาในแต่ละงานวิจัยนั้นมีลักษณะของประชากร และสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน อาจไม่ตรงกับตัวของคู่สมรสที่มารับการรักษาเนื่องจากในแต่ละคู่สมรสมีปัจจัยทางกายภาพ และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน จึงส่งผลให้ความสำเร็จในการรักษาไม่เหมือนกันในแต่ละคู่

ในกลุ่มประชากรที่แตกต่างกัน การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ จะสำเร็จแตกต่างกันอย่างไร?
ประเด็นสำคัญในการนำมาประเมินอัตราความสำเร็จ คือ กลุ่มประชากรที่นำมาศึกษาในงานวิจัยนั้นๆ เพราะคู่สามีภรรยาที่เข้าร่วมงานวิจัย ซึ่งถือเป็นประชากรที่นำมาแปลผลในงานวิจัย ไม่ได้เริ่มนับตั้งแต่การย้ายตัวอ่อนเข้าฝังตัวในมดลูก แต่อาจนับเริ่มตั้งแต่ เข้ารับการกระตุ้นให้ตกไข่ การเก็บไข่หรือ การย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูกก็ได้ และอัตราความสำเร็จในแต่ละกลุ่มก็ต่างกันไป หากเก็บข้อมูลในกลุ่มที่นับเริ่มตั้งแต่การย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูกก็จะพบว่ามีอัตราความสำเร็จสูงที่สุด (มากกว่านับตั้งแต่การกระตุ้นไข่ ซึ่งบางรายกระตุ้นไข่ไม่ขึ้นตั้งแต่ต้น ดังนั้นจึงมีโอกาสที่กลุ่มนี้จะล้มเหลวสูงกว่ากลุ่มที่เริ่มเก็บข้อมูลที่การย้ายตัวอ่อนซึ่งเป็นกระบวนการรักษาท้ายๆ) ดังนั้นการนำเอางานวิจัยมาเปรียบเทียบผลความสำเร็จกันนั้นต้องแน่ใจว่าได้ข้อมูลที่มีประชากรพื้นฐานคล้ายคลึงกัน เพื่อจะได้คาดการณ์ผลสำเร็จไม่คลาดเคลื่อนมาก เช่นหากจะดูอัตราความสำเร็จของการคลอดทารกแบบมีชีวิตต่อวิธีการใช้ตัวอ่อนแช่แข็งและทำการย้ายตัวอ่อนเข้าฝังตัวในมดลูก ก็ต้องเลือกดูผลศึกษาของงานวิจัยที่เลือกประชากรที่ใช้วิธีการนำตัวอ่อนแช่แข็งและย้ายตัวอ่อนเข้าฝังตัวในมดลูกเหมือนกัน เป็นต้น

การเลือกผู้ป่วยเข้ารับการรักษา และวิธีการเพิ่มอัตราความสำเร็จของเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
ความคิดผิดๆที่เกิดจากการมองแต่จำนวนอัตราความสำเร็จของคนทั่วไป ทำให้หน่วยงานเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์(เด็กหลอดแก้ว)แต่ละที่พยายามเพิ่มอัตราความสำเร็จของตนเองโดยวิธีการเลือกผู้ป่วยที่จะมาทำการรักษา โดยมักจะเลือกแต่ผู้ป่วยที่สุขภาพดี และมีปัญหาที่มีผลต่อการทำเด็กหลอดแก้วไม่มาก อายุไม่เกิน 35 ปี ซึ่งทำให้มีโอกาสสำเร็จสูง และในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะไม่สำเร็จสูง จะไม่ถูกคัดเลือกเข้ารับการรักษา เช่น สตรีที่อายุมากกว่า 38 ปี ซึ่งจะมีการทำงานของรังไข่ไม่ค่อยดี เป็นต้น ดังนั้นตัวเลขสถิติความสำเร็จที่ดี อาจมาจากการคัดเลือกผู้ที่เข้ารับการรักษาที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีปัญหาน้อย มากกว่าจะเลือกผู้ที่มีปัญหาหลายๆอย่างก็เป็นได้

ไม่มีอัจฉริยะ หรือนักมายากล
ปัจจุบันนี้มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์(เด็กหลอดแก้ว)มากมาย แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่มีอำนาจพิเศษที่จะทำให้สำเร็จได้ทุกครั้งหลักการแพทย์นั้นเป็นมาตรฐานให้แพทย์ที่ทำการรักษาปฏิบัติตามแนวทางที่มีอยู่ แม้ว่าคุณภาพของการดูแลรักษาผู้ป่วยและเทคนิคทางห้องปฏิบัติการนั้นสำคัญต่อความสำเร็จ ซึ่งทุกสถาบันก็ให้ความใส่ใจไม่แตกต่างกัน ผลความสำเร็จที่แตกต่างกันในแต่ละคลินิกนั้นส่วนใหญ่มาจากลักษณะที่แตกต่างกันของผู้ป่วยที่มาเข้ารับการรักษามากกว่าการรักษาที่ต่างกัน
อัตราความสำเร็จของแต่ละที่นั้นไม่อาจเดาได้และมีความหมายน้อยมากในการคาดการณ์ว่าคู่สมรสที่มารับการรักษาคู่นั้นๆจะประสบความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วหรือไม่ เนื่องจากในแต่ละที่มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่มีความยากง่ายแตกต่างกันทำให้เกิดผลสำเร็จที่ต่างกัน ขณะทีผู้เชี่ยวชาญนั้นทราบดีในประเด็นนี้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนักและยึดติดอยู่กับค่าตัวเลขสถิติ อย่างไรก็ตามอย่าลืมคิดว่าสถาบันที่มีสถิติที่ดีไม่ได้หมายถึงการรักษาที่ดีเสมอไป

เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์(เด็กหลอดแก้ว)นั้นเป็นเหมือนเกมตัวเลข ที่เป็นการเพิ่มความสามารถในการมีบุตร โดยการนำเอาความสามารถในการมีบุตรตามธรรมชาติของหลายๆเดือนมารวมกันในรอบเดือนเดียวนั่นเอง

ผลการรักษา ของ เชียงใหม่ ไอ.วี.เอฟ. สหคลินิก
ทางเราได้ติดตามผลการรักษาผู้มีภาวะมีบุตรยาก จำนวน 2000 รอบการรักษาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พบว่าเป็น fresh non-donor IVF 56%,  frozen embryo transfer 36% และ  egg donations cycle 8%

หลังจากการรักษา 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจการตั้งครรภ์ โดยส่วนใหญ่คุณแม่จะเข้ารับการฝากครรภ์ต่อที่แผนกฝากครรภ์ของคลินิก ดังนั้นจึงสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพท์ของการทำเด็กหลอดแก้วได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับรายที่ไม่สะดวกฝากครรภ์ต่อที่คลินิก ทางเราจะติดต่อสอบถามข้อมูลที่สำคัญเป็นระยะ

การรายงานผลต่อไปนี้จะให้คำจำกัดความดังนี้  การตั้งครรภ์ คือการตั้งครรภ์ที่ผ่านการยืนยันโดยการอัลตร้าซาวน์ทางช่องคลอดแล้ว, การแท้ง: มีการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ตั้งแต่ช่วงต้นของการตั้งครรภ์, การเกิดมีชีพ คือมีการตั้งครรภ์และเกิดการคลอดทารกได้เลี้ยง ซึ่งจะแบ่งเป็น ทารกครรภ์เดี่ยว และทารกครรภ์แฝดต่อไป

การตั้งครรภ์แฝดเป็นสิ่งที่สูติแพทย์ทั่วไปไม่พึงประสงค์และถือเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่นมีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ การตกเลือดระหว่างคลอด ทารกคลอดก่อนกำหนด รวมทั้งมีอัตราการป่วยและอัตราการตายของมารดาและทารกสูงกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยว อย่างไรก็ตามในการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์บางครั้งอาจมีความจำเป็นในการย้ายเซลล์สืบพันธุ์หรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งตัวอ่อนเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น เชียงใหม่ ไอ.วี.เอฟ.มีนโยบายควบคุมอัตราการตั้งครรภ์แฝดไม่เกินร้อยละ 10 

โซเชียลมีเดีย

ติดต่อเรา